นี่แหละฉัน

รูปภาพของฉัน
Thailand
"ตัวฉัน คนอย่างตัวฉัน ใครจะมาสนใจ..." อิอิ.. รักเสียงเพลง บรรเลงตัวหนังสือ... ชอบอ่าน ชอบเขียน......
"หนังสือ" คือเพื่อนที่ปรารถนาดีที่สุด แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดนะ... เพราะในชีวิตยังมีเพื่อนดี ๆ ให้เจออีกเยอะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ว่าด้วยโลโก้มาตรฐาน




                             ทุกคนคงรู้จักกูเกิล (Google) กันแล้ว แต่จะเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าโลโก้ของกูเกิล
มีที่มาอย่างไร   เราลองมาดูกัน

                           กูเกิลมีโลโก้หลากหลายแบบเรียกกันว่า กูเกิล ดูเดิ้ล Google Doodle เพื่อสร้าง
ความรู้สึกเป็นกันเอง ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน และให้ความรู้ บางทีโผล่มาเป็นรูปต้นไม้บ้าง
ต้นคริสต์มาสบ้าง หัวใจหวานแหววบ้าง  ซึ่งกูเกิลมักจะใช้วันสำคัญต่าง ๆ มาบอกเล่าผ่าน
กูเกิลดูเดิ้ล เช่น วันเกิดศิลปิน และนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลก  วันครบรอบต่าง ๆ ที่สำคัญ
ตลอดจนการ์ตูน หรือเกม  ที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง

                            กูเกิล ดูเดิ้ล อันแรกทำขึ้นในปี 2541 ใช้ในวันเทศกาล Burning Man Festival
เทศกาลเผาหุ่นยักษ์ ซึ่งจัดช่วงเดือนสิงหาคมทุกปี ออกแบบโดยแลร์รี่ เพจ และเซอร์เกย์ บริน
ผู้ก่อตั้งกูเกิล ส่วนโลโกอันอื่นๆ จะว่าจ้างบริษัทข้างนอกออกแบบให้ จนกระทั่งแลร์รี่และเซอร์เกย์
ขอให้ เดนนิส ฮวาง พนักงานฝึกงานขณะนั้นออกแบบโลโก้สำหรับวัน Bastille Day ให้ในปี 2543
นับแต่นั้นหน้าที่ออกแบบโลโก้พิเศษก็เป็นของฮวาง

                             แต่สำหรับโลโก้มาตรฐานนั้น  คงต้องกล่าวถึง รูธ เกดาร์ (Ruth Kedar) 
เธอคือนักออกแบบสาวชาวบราซิล จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มีผลงานออกแบบ
ให้กับทางอะโดบีและกูเกิล ในปัจจุบันเป็นอาจารย์ด้านกราฟิกส์อยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ซึ่งจุดนี่เอง แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ผู้ก่อตั้งกูเกิลได้มาขอให้เธอช่วยออกแบบโลโก้ให้
สำหรับผลงานอื่นของเธอดูได้ที่ kedardesigns.com

                           โดยกว่าจะได้โลโก้ของกูเกิลตัวมาตรฐานที่ใช้กันอยู่นั้น   ตัวโลโก้ได้ผ่านการออกแบบ
มาหลายขั้นตอน  ซึ่งเกดาร์ ได้ออกแบบดีไซน์ไว้  8 แบบ   และ แลร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน
ผู้ก่อตั้งกูเกิลได้เลือกแบบที่ 8 ไว้บนเว็บ

                             สำหรับทั้ง 8  แบบนั้น  มีมาให้ชมกัน ดังนี้

แบบที่ 1  เป็นโลโก้จากข้อความตัวอักษรธรรมดา ใช้แม่สีหลักในการเล่นสีเหนือตัวอักษรโอตรงกลาง
ซึ่งแพตเทิร์นรูปแบบนี้สื่อถึงการไม่มีที่สิ้นสุด ดังความหมายของคำว่า กูกอล (googol) ที่หมายถึง 10100
(ฟอนต์ — Adobe Garamond)
 1_logo_predesign

แบบที่ 2 แทนที่จะเล่นสีกับตัวอักษรกลางคำ คุณเกดาร์ดัดแปลงตัวอักษรโอให้มีลักษณะหลายมิติ
จุดนี่เองกลายมาเป็นดีไซน์ของตัวโอหลายตัวท้ายหน้าค้นหาของกูเกิลทุกหน้า โดยครอสแฮร์กากบาท
ตรงกลางรวมถึงตัวโอรอบแสดงถึงเป้าหมายของกูเกิลที่แน่นอน เป็นเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียว
ต่างจากเว็บไซต์อื่น ตามความคิดของกูเกิลที่ว่าเน้นการใช้งานที่เรียบง่ายภายใต้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
อันซับซ้อน (ฟอนต์ — Catull)

 2_logo_predesign

 
แบบที่ 3 นำตัวอักษรโอคล้องเข้าหากันแสดงถึงการค้นหาที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ในหลายวัฒนธรรม
และหลายประเทศ โดยยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า กูเกิลกำลังจะไปร่วมแข่งกีฬาโอลิมปิกส์แล้วก็หัวเราะ
(ฟอนต์ — ITC Leawood)

 3_logo_predesign

 
แบบที่ 4 เปลี่ยนตัวอักษรมาใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หมดให้ความรู้สึกถึงความหนักแน่น ในขณะเดียวมีการ
เปลี่ยนขนาดตัวอักษรและเพิ่มสี เพื่อให้โลโก้มีลักษณะไม่อึดอัดจนเกินไป แว่นขยายถูกเสริมเข้ามา
สีที่ใช้ยังไม่ใช้สีรุ้งอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน(ฟอนต์ — Catull)
 4_logo_predesign

แบบที่ 5 มีลักษณะคล้ายแบบก่อนหน้า โดยนำส่วนครอสแฮร์กากบาทและส่วนที่ซูมผ่านแว่นขยายออก
มีการเพิ่มรอยยิ้มแสดงถึงการมีความสุขและความรู้สึกดีหลังจากใช้งานกูเกิล สีของตัวอักษรเริ่มต้นและ
ตัวสุดท้ายใช้สีเดียวกัน ในขณะที่สีอื่นระหว่างกลางมีสีที่หลากหลาย แสดงถึงการค้นหาในกูเกิลที่มี
เส้นทางหลายหลาก และสุดท้ายได้ข้อมูลตรงจากที่เริ่มต้นค้นหา (ฟอนต์ — Catull)
 5_logo_predesign

แบบที่ 6 ดีไซน์นี้กลับมาลักษณะของคอนเซปต์ในตอนแรกของ เซอร์เกย์ บริน แต่ใช้ฟอนต์ที่เปลี่ยนไป
และมีเพิ่มเงาและเพิ่มเฉดสี และโลโก้มีลักษณะลอยอยู่เหนือหน้าการค้นหา (ฟอนต์ — ITC Leawood)
 6_logo_predesign

แบบที่ 7 เริ่มต้นปรับแก้ให้โลโก้มีลักษณะเรียบง่าย นอกจากนำสัญลักษณ์แว่นขยายออกยังคงมีลูกเล่น
แสดงถึงกูเกิลที่มีมากกว่าการเป็นเสิร์ชเอนจิน โดยการหมุนตัวโอเล่นมุมและสีของตัวอักษร
(ฟอนต์ — Catull)

7_logo_predesign

แบบที่ 8 พัฒนาจากแบบก่อนหน้า ปรับเปลี่ยนใช้เฉพาะแม่สีหลัก ในขณะเดียวกันการเรียงลำดับของสี
ไม่เป็นไปตามแบบแผน โดยสีลำดับที่สองสีเขียวได้ถูกใช้ที่ตัวแอล ซึ่งสะท้อนไอเดียของกูเกิลว่า
กูเกิลไม่ใช่บริษัทที่ทำตามแบบแผนตลอดเวลา (ฟอนต์ — Catull)

8_official_googlelogo

 

(เครดิต:  by itshee และ Yenta4)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น