นานแล้วที่ไม่ได้ดูซีรีย์จีน… นานแล้วที่ไม่มีอาการ ที่ดูซีรีย์จบแล้วแต่ยังเพ้อคลั่ง อารมณ์ไม่จบแบบนี้
จนได้รับการเชิญชวนจากเจ้าแนนนี่ตัวดี.. ให้ได้หลงเข้าวังวนของ “ปู้ปู้จิงซิน”
(ข้อความในที่นี้ต้องขอบคุณข้อมูลจากหลายๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นในพันทิป , ยูทูป , ผู้จัดการออนไลน์
โดยเฉพาะบล็อก My Rose Garden ข้อมูลเยอะ และดีมากจริงๆ จึงขอหยิบยกมาแปะรวมๆ ไว้ที่นี่ด้วยนะคะ)
ปู้ปู้จิงซิน ออกอากาศครั้งแรกทางหูหนานทีวี / Hunan Broadcasting System (HBS) ตั้งแต่วันที่
10 ก.ย. ถึง 29 ก.ย. 2554 สร้างจากบทประพันธ์ของ ถงหัว มีคนแปลชื่อเป็นไทย โดยใช้ชื่อว่า
“สะท้านขวัญทุกย่างก้าว” เหตุเพราะการใช้ชีวิตในราชสำนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับใช้ใกล้ชิดฮ่องเต้นั้น
ต้องระมัดระวังตัวอย่างที่สุด เรียกได้ว่าสะท้านขวัญทุกย่างก้าวจริงๆ ว่าในแต่ละวันจะเจอกับเหตุการณ์อย่างไรบ้าง
ทางผู้สร้างพยายามสร้างละครเรื่องนี้ให้ตรงตามบทประพันธ์มากที่สุด แตกต่างกันแค่ตอนจบเท่านั้น
(จะสปอยตอนจบล่ะนะ ถ้าไม่อยากรู้ก็ข้ามไป 555)
ในนวนิยายรั่วซี (นางเอก) ไม่สามารถกลับไปสู่ยุคปัจจุบันที่เธอจากมาได้และเสียชีวิตจากอาการป่วยของเธอ
ส่วนหย่งเจิ้นสวรรคตหลังจากนั้นไม่นาน (ตรอมใจ) ด้วยความหวังว่าจะได้ไปพบกับหญิงคนรักในปรโลกนั่นเอง
ส่วนในละครหลังจากรั่วซีตายแล้ว วิญญาณของเธอกลับไปสู่ร่างเดิมของเธอในศตวรรษที่ 21 และเธอได้พบกับ
หย่งเจิ้นอีกครั้งในชาติใหม่ของเขา ถึงแม้เขาจะจำเธอไม่ได้ก็ตาม
--------------------------------------------
การดำเนินเรื่องของ “ปู้ปู้จิงซิน” เป็นการเดินทางผ่านกาลเวลาที่นานมาก คือกว่า 20 ปี ผ่านจากสมัยของ
คังซีไปจนถึงหย่งเจิ้ง ในละครใช้เทคนิคการเปลี่ยนฉากหลังเพื่อบอกเวลา หากสังเกตดีๆ จะเห็นว่าฉากจะเปลี่ยน
ไปอยู่เรื่อย เดี๋ยวหิมะตก (ฤดูหนาว) เดี๋ยวดอกไม้บาน (ฤดูใบไม้ผลิ) เดี๋ยวปีใหม่ เดี๋ยวงานเทศกาล เป็นการบอก
ให้รู้ว่าเวลาผ่านไปแต่ไม่ได้บอกตรงๆ ว่าผ่านไปกี่ปีแล้ว แต่ให้ตัวละครคอยบอกเป็นช่วงๆ ว่าตอนนี้เป็นปีที่เท่าไหร่
ของคังซีแล้ว อะไรประมาณนั้น
(ส่วนนี้จะสปอยเนื้อหาละคร.. ถ้าไม่อยากรู้เรื่องก่อน ข้ามไปดูซีรีย์เลยเน๊อะ)
จนทำให้วิญญาณของเธอแต่ได้เดินทางย้อนเวลากลับไปในสมัยราชวงศ์ชิง รัชสมัยของพระเจ้าคังซี ไปอยู่ในร่าง
ของเด็กสาวในในที่ขื่อว่า “หม่าเอ่อไท่รั่วซี” (ในหนังสือบอกว่าเธออายุ 13 ปี แต่ในละครเปลี่ยนให้เป็น 16 ปี)
ดังนั้นรั่วซีที่เห็นตอนเริ่มแรกคือเด็กสาวอายุ 16 ที่กำลังจะเข้าพิธีคัดเลือกตัวเป็นนางกำนัล ซึ่งเป็นธรรมเนียม
ปฏิบัติของคนสมัยโบราณ ที่บรรดาลูกขุนนางและแม่ทัพสำคัญๆ ต้องส่งบุตรสาวเข้ามาเป็นนางกำนัล ด้วยเหตุผล
ทางด้านการเมือง ดังนั้นในเวลานั้น องค์ชาย 4 จะอายุประมาณ 26 ปี / องค์ชาย 8 ประมาณ 23 ปี / องค์ชาย 13
ประมาณ 17 ปี / องค์ชาย 14 ประมาณ 15 ปี นั่นคือเหตุผลที่องค์ชาย 4 กับรั่วซีค่อนข้างคุยกันรู้เรื่อง เพราะถึงแม้
รั่วซีจะอยู่ในร่างเด็กแต่จิตใจของเธอคือสาวอายุ 25 และเป็นเหตุผลที่รั่วซีและองค์ชายทุกคนผูกพันกัน (จนยุ่งเหยิง)
เพราะคบหากันมานานตั้งแต่ยังเป็นวัยแรกรุ่นจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่นั่นเอง
หม่าเอ่อไท่รั่วซีเป็นน้องสาวของ หม่าเอ่อไท่รั่วหลัน ซึ่งเป็นชายารองขององค์ชาย 8 รั่วซีจึงมาอยู่กับรั่วหลัน
ที่ตำหนักขององค์ชาย 8 เพื่อรอการถวายตัวเข้าเป็น “นางใน” ที่นี่เธอได้พบกับบรรดาองค์ชายทั้งหลาย
ทั้งองค์ชาย 4 (หย่งเจิ้น) ซึ่งเธอกลัวเขามากเพราะรู้ว่าเขาคือว่าที่ฮ่องเต้ซึ่งโหดมากตามประวัติศาสตร์ , องค์ชาย 13,
องค์ชาย 14, องค์ชาย 9 และองค์ชาย 10
ระหว่างที่รั่วซีพักอยู่กับรั่วหลันนั้น องค์ชาย 8 ได้ตกหลุมรักเธอ ถึงกับมอบกำไลหยกอันล้ำค่าให้กับเธอ ถึงแม้
รั่วซีจะหวั่นไหวแต่ก็พยายามที่จะปฏิเสธเขาเพราะรู้ดีว่าเขามีจุดจบที่ไม่ดี กระนั้นเธอก็ไม่อาจฝืนใจตัวเองได้และ
รับรักเขาในภายหลัง ตัดสินใจว่าจะยอมแต่งงานกับเขาหากเขายอมละทิ้งการชิงราชบัลลังก์ เพราะรู้ว่ายังไงเขาก็
ไม่ได้ครองบัลลังก์ หากเขายอมถอนตัวมาอยู่กันอย่างสงบ ชีวิตภายหลังอาจจะดีขึ้น ไม่ต้องพบจุดจบที่แย่ตาม
ประวัติศาสตร์ แต่องค์ชาย 8 กลับเลือกบัลลังก์ เรื่องราวความรักของทั้งสองจึงต้องยุติลง
จากนั้นเธอก็เปิดใจรับองค์ชาย 4 เข้ามาและพบเจอเรื่องต่างๆ มากมายถึงแม้เธอจะรู้ดีอยู่แล้วว่าหลังหย่งเจิ้น
ขึ้นครองราชย์จะมีแต่การนองเลือด ดังนั้นหลังการครองราชจึงไม่สามารถทำให้เธออยู่อย่างเป็นสุขได้ และ
หลายครั้งมักมีเธอเป็นส่วนร่วมในจุดจบนั้น เธอก็ไม่อาจทนดูคนที่เธอรักและรู้จักตายไปต่อหน้าทีละคนๆ แม้ว่า
บางครั้งเขาจะทำไปเพื่อปกป้องเธอก็ตาม สุดท้ายเธอตัดสินใจไปจากเขาและไปอยู่กับองค์ชาย 14 ทั้งๆ ที่รู้ว่า
ชีวิตตัวเองเหลือเวลาน้อยเต็มทีเนื่องจากอาการป่วยของเธอ (จากการใช้ร่างกายอย่างตรากตรำและสภาพจิตใจ
ที่ตึงเครียดตลอดเวลา) สุดท้ายรั่วซีก็จากไปโดยที่ไม่ได้เห็นหน้าชายคนรักของเธอเป็นครั้งสุดท้าย
วิญญาณของรั่วซีกลับคืนสู่ร่างของจางเสี่ยวในศตวรรษที่ 21 เธอเฝ้าค้นหาความจริงว่าเธอนั้นเคยมีตัวตน
อยู่จริงหรือไม่ในฐานะรั่วซี หรือเธอแค่ฝันไป สุดท้ายเธอก็พบภาพวาดที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าเธอมีตัวตนอยู่จริง
และได้พบหย่งเจิ้นอีกครั้งในชาติใหม่ของเขา แต่เขากลับจำเธอไม่ได้
(ขอบคุณคลิปซีรีย์จาก BleuPeonys)
ตอนที่ 1 http://www.youtube.com/watch?v=1uuDVNgMFGY&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 2 http://www.youtube.com/watch?v=3SLZ8a8I2-4&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 3 http://www.youtube.com/watch?v=qDcHTBEozFc&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 4 http://www.youtube.com/watch?v=2RAFhH3NBQQ&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 5 http://www.youtube.com/watch?v=oRgShaKn-ao&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 6 http://www.youtube.com/watch?v=jDKs8vvSV_E&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 7 http://www.youtube.com/watch?v=Svw-zJcTJBQ&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 8 http://www.youtube.com/watch?v=EwmfFF87m_k&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 9 http://www.youtube.com/watch?v=lRsdy_qZ9NQ&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 10 http://www.youtube.com/watch?v=_1uxKZYd-1A&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 11 http://www.youtube.com/watch?v=P5ZuE41boMI&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 12 http://www.youtube.com/watch?v=5dDjuoooXAI&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 13 http://www.youtube.com/watch?v=iRgWTOUv9co&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 14 http://www.youtube.com/watch?v=MZj9-FQ_QN0&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 15 http://www.youtube.com/watch?v=04Oo5JqxdHw&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 16 http://www.youtube.com/watch?v=n2uWXzz5fMQ&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 17 http://www.youtube.com/watch?v=SPaNAwCI-tY&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 18 http://www.youtube.com/watch?v=LZ026F2Ifjg&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 19 http://www.youtube.com/watch?v=_FDY1qLc7vc&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 20 http://www.youtube.com/watch?v=mPe18I_0YxU&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 21 http://www.youtube.com/watch?v=Xc-p9qCPops&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 22 http://www.youtube.com/watch?v=SctgqyGb-k4&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 23 http://www.youtube.com/watch?v=KM5nDwUD244&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 24 http://www.youtube.com/watch?v=0ZVsn5eCo_U&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 25 http://www.youtube.com/watch?v=W25J3XoI9iY&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 26 http://www.youtube.com/watch?v=QSh_QVLQJls&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 27 http://www.youtube.com/watch?v=zOQJZNgWJak&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 28 http://www.youtube.com/watch?v=gc2Rjidbcns&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 29 http://www.youtube.com/watch?v=DXGGa8fYvZ8&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 30 http://www.youtube.com/watch?v=-mbQf073C54&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 31 http://www.youtube.com/watch?v=nn4_myTbBt8&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 32 http://www.youtube.com/watch?v=WhcxdrIfjHE&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 33 http://www.youtube.com/watch?v=M3spKKkZuUg&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 34 http://www.youtube.com/watch?v=P3YUyK-YDoo&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
ตอนที่ 35 http://www.youtube.com/watch?v=20FnRrfxPBU&list=PLD3xO2wdvNCS4mlOIaTHNxzbgr1ClfL2o
*****************************************************************
มาว่ากันตามเรื่องราวตามประวัติศาสตร์
คังซี | หย่งเจิ้น |
องค์ชาย 4 หรือชื่อเดิมคือ “อิ่นเจิ้ง” เป็นลูกที่คังซีโปรดมากคนหนึ่ง เขาเป็นลูกขององค์หญิงเจ้ากงเหยิน
ซึ่งเป็นหญิงแมนจูในสายสกุลอู๋ยา (ซึ่งมีคลาสที่ต่ำกว่า อ้ายซินเจี๋ยหรอ ที่เป็นสายสกุลกษัตริย์) เมื่อเข้าวัง
ก็ได้กินตำแหน่งสนมเต๋อเฟยที่อยู่สูงกว่านางกำนัลนิดหน่อย แต่กระนั้นตัวองค์ชาย 4 ก็อยู่ในฐานะที่มั่นคงพอควร
เพราะการเป็นนักรบ เขาก้าวขึ้นมาเป็น “ผู้นำทัพกองธงแดง” แห่งทัพแปดธงในปี คศ 1689 ซึ่งสร้างความดี
ความชอบมากในสงครามปราบมองโกลที่นอกด่าน ศึกครั้งนี้ทำให้อิ่นเจิ้งกลายเป็นขุนศึกคนสำคัญของราชวงศ์
ไปโดยปริยาย และรอบๆ ของกรุงปักกิ่งนั้นเป็นเขตอิทธิพลของเขาโดยแท้
ในฐานะนักปกครองและนักการเงินที่ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ องค์ชาย 4 ได้รับการพิสูจน์ตัวเองเมื่อครั้งเกิด
อุทกภัยใหญ่ในแม่น้ำฉางเจิง (แม่น้ำแยงซี) และแม่น้ำหวงเหอหรือแม่น้ำเหลืองในปี คศ 1704 เขาถูกบัญชาจาก
ฮ่องเต้ให้ไปจัดการวิกฤติในแดนใต้จากอุทกภัยที่จะทำให้ราษฏรอดตาย แน่นอนว่านี่อาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้
คนในราชสำนักหลายคนไม่ชอบหน้าของเขา เพราะทันทีที่ได้รับพระบัญชาจากคังซี องค์ชาย 4 ก็ลงใต้ไป
พร้อมกับองค์ชาย 13 ที่มีชื่อว่า “อิ่นเซี่ยง” ทันที เหมือนมองเห็นว่าภาวะของขุนนางคอร์รัปชั่นนั้นมีมากมาย
เหลือเกิน พระองค์จึงลงไปจัดการเชือดข้าราชการท้องถิ่นเสียหลายคน เหตุเพราะการรีดนาทาเร้นและการเม้ม
เงินส่วนกลางที่สำนักการคลังของราชสำนักส่งลงไปช่วยซื้ออาหารจนเกิดภาวะอดอยาก องค์ชาย 4 ยังเจรจา
กับบรรดาเจ้าที่และเศรษฐีในพื้นที่ให้บริจากเงินและเปิดคลังสินค้าและคลังข้าวออกขายต่อทางการในราคาที่
ถูกแลกกับการไม่เก็บภาษี สุดท้ายภัยจากแม่น้ำพิโรธก็ผ่านไป แถมยังได้เงินเข้าคลังมากกว่าเดิมเสียอีก
ด้วยความเฉียบขาดกับการจัดการข้าราชการขี้โกงนั่นเอง พระองค์จึงสร้างชื่อไว้กับชาวฮั่นทางแดนใต้อย่างยิ่ง
การเยียวยาและการจัดการความเรียบร้อยนั้นใช้เวลาเกือบสี่ปี พอกลับวังในปี 1709 เขาก็ได้รับการเลื่อนขั้น
เป็นองค์ชายชั้นหนึ่ง (First Class Prince) ทั้งๆ ที่มารดาไม่ใช่ตระกูลชั้นสูงและกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือก
ในการขึ้นเป็นกษัตริย์ได้นั่นเอง
จุดเริ่มต้นของการเกิดศึกสายเลือดขึ้นมาก็คือ การที่องค์ชาย 2 ที่มีนามว่าอิ่นเหริง (Yinreng) องค์รัชทายาท
ของคังซีนั้นเกิดอาการเพี้ยนขนาดหนัก ทั้งๆ ที่เป็นลูกที่พ่อรักมากที่สุดและพ่อเป็นคนเลี้ยงเอง แถมยังเอา
อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญระดับสุดยอดมาสอนหนังสือให้ แต่พอโตขึ้นความวิปริตก็บังเกิด ไม่ว่าจะเป็นการเชิดขันที
ขึ้นมาทำร้ายข้าราชการที่จงรักภักดี แถมยังมีความสัมพันธ์กับผู้ชายในวังเป็นเรื่องที่คังซีรับไม่ได้เลย ครั้นถูกห้าม
อิ่นเหริงองค์ชาย 2 ก็ออกไปซื้อบริการจากพวกค้าทาสแทน คังซีก็เลยถอดรัชทายาทออกจากตำแหน่งและอ้าง
เรื่องของการถอดว่าเป็นเพราะถูกหนอนคุณไสยจากพระธิเบตนิกายมิกจง พอจัดการเรื่องนี้ได้ก็แต่งตั้งเป็น
องค์รัชทายาทใหม่ กระนั้นก็ยังไม่มีความเหมาะสมพอที่เป็นรัชทายาทก็ยังปรากฏว่านอกจากจะมีจิตใจโหดร้าย
และชอบฆ่าสัตว์แล้ว องค์ชาย 2 ยังชอบสถบคำหยาบออกมาชนิดที่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าไปจำมาจากไหน ในปี
คศ 1711 คังซีก็เหลืออดจริงๆ ก็ประกาศปลดออกเป็นครั้งสุดท้าย เพราะไปสืบทราบมาได้ว่าลูกชายคนโปรด
กำลังจะก่อการกบฎ จึงถูกจับกักขังให้อยู่แต่บริเวณในวังเท่านั้น หลังจากนั้นพระองค์ก็เลยไม่ได้ตั้งใครให้เป็น
รัชทายาทอีก แต่ได้เขียนพินัยกรรมเอาไว้ว่าถ้าพระองค์ตายเมื่อไหร่ก็ให้ผู้บัญชากองกำลังรักษาพระนครในขณะนั้น
มายืนอ่านพินัยกรรมต่อหน้าองค์ชายและบรรดาขุนนางและราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แทน ว่ากันว่าการทิ้งไพ่ปริศนานี้
คังซีอาจจะอยากเห็นองค์ชายแต่ละคนแสดงฝีมือถึงความเหมาะสมในตำแหน่งรัชทายาทมากกว่าจะพยายาม
สร้างความวุ่นวาย แต่การกลับไม่เป็นอย่างที่พระองค์คิดไว้ เพราะแทนที่แต่ละคนจะหาทางสร้างผลงาน กลับกลาย
เป็นการตามล่าหาฝักฝ่ายจากข้าราชการและเชื้อพระวงศ์ด้วยกันเพื่อเสียงสนับสนุนที่จะขึ้นครองราชย์ต่อไป
ผลก็คือ เกิดการแบ่งแยกฝักฝ่ายอย่างชัดเจน ออกเป็น 2 ขั้วเท่านั้น คือองค์ชาย 4 ที่กุมอำนาจในปักกิ่ง โดยมี
องค์ชาย 13 ที่ได้ชื่อว่าเป็นขุนศึกคนสำคัญของราชวงศ์ในขณะนั้นเป็นตัวสนับสนุน ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งประกอบ
ไปด้วย องค์ชาย 8 อิ่นซี่ ( Ying Si) กับองค์ชาย 14 อิ่นถี (Ying Ti)
แต่ในประวัติศาสตร์ที่แท้จริงนั้นในช่วงท้ายของชีวิต คังซีเองก็ดูเหมือนอยากจะจะจัดการความวุ่นวายนี้อยู่
เหมือนกัน เพราะก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ไม่นาน ก็สั่งจับ “องค์ชาย 13” คู่ซี้ขององค์ชาย 4 เข้าคุกโดยยัด
ข้อหาว่าจะก่อกบฎร่วมกับพี่ชายคือองค์ชาย 2 ขณะที่กองสนับสนุนองค์ชาย 14 อย่าง “องค์ชาย 8 ” ซึ่งวิ่งเต้น
จนสามารถจับมือกับ “องค์ชาย 9” และ “องค์ชาย 10” ก็ถูกถอดยศทุกอย่างออก เรียกได้ว่าคังซีเอาตัวยุ่งออก
กันหมด เหลือเจ๋งๆ อยู่แค่สององค์เท่านั้น ความสำคัญมันอยู่ที่ว่าคังซีคิดจะเลือกใครเป็นฮ่องเต้องค์ต่อไปกันแน่
เพราะพระองค์ประทับในปักกิ่ง อยู่ในเขตอิทธิพลขององค์ชาย 4 และกองทัพของเขา รวมถึงหลงเคอตัว (Longkodo)
ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารรักษาพระนคร ขณะที่องค์ชาย 14 ถูกส่งไปซินเกียงและธิเบตเพื่อปราบกบฎ
แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้มีอยู่สองทางซึ่งนักประวัติศาสตร์ทางตะวันตกก็ยังไม่มีข้อสรุป ทางหนึ่งบอกว่าการที่
คังซีฮ่องเต้ส่งองค์ชาย 14 ไปชายแดนเพื่อปราบกบฎนั้นก็เพื่อให้ลูกคนนี้ได้มีเกียรติประวัติในการศึกสงคราม
มากเทียบเท่ากับที่องค์ชาย 4 มี แถมการไปทำให้เขตนี้สงบลงก็เป็นการพิสูจน์ฝีมือทางด้านการปกครองอีกด้วย
แนวคิดนี้มีข้อสรุปว่า คังซีรักองค์ชาย 14 มากกว่าและต้องการให้เขาสืบทอดตำแหน่ง เพราะก่อนไปนั้น
องค์ชาย 14 ได้รับการแต่งตั้ง “จ้าวนายพลพิทักษ์เขตแดน (Great General Who Pacifies the Frontier)”
พร้อมกับทหารอีกเกือบแสนนาย อีกทางหนึ่งนักวิชาการเสนอแนวคิดว่า คังซีอยากจะแต่งตั้งองค์ชาย 4 อยู่แล้ว
การส่งองค์ชาย 14 ไปชายแดนก็เพื่อไม่ให้เกิดสงครามภายในกันเองหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว
การที่พระองค์อยู่ในเขตอิทธิพลของลูกชายนั้นเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่าคังซีไว้ใจใครกันแน่
อย่างไรก็ดีบรรดาละครต่างๆ ที่ผลิตออกมา เลือกที่จะเชื่อแนวคิดแรกมากกว่า ผลก็คือ หย่งเจิ้งกลายเป็นคนเลว
ชนิดที่เชื่อว่าองค์ชาย 4 ฆ่าพ่อของตัวเองจริง เพราะมันมีปัจจัยหลายต่อหลายอย่างที่ชวนให้เชื่อ
เนื่องจากขณะนั้น ปัญหาใหญ่ที่สุดประการหนึ่งของราชวงศ์ชิงของแมนจูก็คือ เรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่นของ
ข้าราชการโดยอ๋องผู้มีอำนาจเชื้อพระวงศ์เป็นฝ่ายหนุนหลัง คังซีนั้นมีลูกอยู่ตั้งสามสิบกว่าคน แต่ละคนก็ไม่ธรรมดา
นี่คือปัญหาใหญ่อย่างแท้จริงภายหลังการครองราชย์อย่างยาวนานของพระองค์ สำหรับองค์ชาย 4 เขามองเรื่องนี้ว่า
มันอาจจะเป็นการทำให้แมนจูล่มสลายได้เลย สภาวะที่ความคอร์รัปชั่นเข้าครอบงำจนทำให้คนอดตายกันมากมาย
หลังเกิดภัยพิบัติที่เขาเห็นมาต่อหน้าต่อตานั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จะต้องหยุดมันให้ได้อย่างเร็วที่สุด คำถามก็คือจะหยุด
มันอย่างไร? คำตอบในใจของหย่งเจิ้งก็คงอยู่ที่ว่า ต้องหยุดและสร้างความชัดเจนจากตัวของคังซีฮองเต้นั่นเอง
ตามประวัติศาสตร์นั้นเองที่หยงเจิ้งซึ่งเป็นองค์ชายองค์เดียวที่มีอำนาจและดูและพื้นที่ในเมืองหลวงที่ปักกิ่ง
ตัดสินใจควบม้าเข้าสู่พระราชวังอันเป็นที่ประทับของคังซีซึ่งอยู่ห่างจากวังหลวงนั้นประมาณ 4 ไมล์เพื่อเข้าเฝ้า
สอบถามความชัดเจนในเรื่องของการสืบราชบัลลังค์
หลังจากการเข้าเฝ้าได้ไม่กี่ชั่วโมง คังซีฮ่องเต้ก็เสด็จเสียชีวิตไปโดยปริยาย!!
ทันทีที่คังซีเสียชีวิตในวันที่ 20 ธันวาคม 1722 หลงเคอตัวซึ่งเป็นนายพลที่ดูแลกองกำลังรักษาพระนครหลวง
ก็ทำหนังสือไปถึงอ๋องที่อยู่รอบนอกเพื่อให้มารับฟังพินัยกรรมขององค์คังซีต่อหน้าพระศพ องค์ชายที่เข้ารับฟังการ
ประกาศพินัยกรรมครั้งนี้ประกอบไปด้วยองค์ชาย 7 พระองค์ รวมถึงบรรดาข้าราชการและเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ทันที่
ที่หลงเคอตัวประกาศพินัยกรรมของอดีตฮ่องเต้ บรรดาข้าราชการและองค์ชายในที่นั้นก็ตะลึง เพราะทุกคนต่างเล็งไป
ที่องค์ชาย 14 ที่กุมกองทัพเรือนแสนอยู่ชายขอบกันหมด แต่ผลปรากฏว่าเป็นองคชาย 4 อิ่นเจิ้ง แต่บรรดาเชื้อพระวงศ์
และข้าราชการที่คุ้นเคยกับการคอร์รัปชั่นรีดไถมานานย่อมชื่นชมเลือกหวังจะเห็นฮ่องเต้เป็นองค์ชาย 14 มากกว่า
เท่านั้นเอง กระแสข่าวของการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมก็เกิดขึ้นว่าเป็นฝีมือของหย่งเจิ้งร่วมมือกับยอดฝีมือชาวฮั่น
จากแดนใต้ก็เริ่มกระพือ หนักหนากว่านั้นก็คือ เรื่องของการเข้าเฝ้าและลอบปลงพระชนม์เสียเลย
เรื่องข่าวลือนี้เป็นการยากในการรับมือ จะไปหยุดต้นตอข่าวลือ คนก็จะมองว่าต้องการฆ่าปิดปาก ครั้นทำเพิกเฉย
ไม่สนใจ คนก็ว่าอีกว่าเพราะเรื่องมันจริงก็เลยแก้ตัวไม่ออก เรียกว่ายังไงๆ ก็โดน ในบันทึกของราชวงศ์ในยุคหยงเจิ้ง
ขึ้นครองราชย์นั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงกันหลายครั้งจนสุดท้ายก็ได้ออกมาว่า ในช่วงค่ำของวันที่ 20 ธันวาคม 1722
ก่อนที่คังซีจะเสียชีวิต เขาได้เรียกโอรสทั้ง 7 มาเข้าเฝ้าข้างเตียงอันได้แก่องค์ชาย 3 องค์ชาย 4 องค์ชาย 8 องค์ชาย 9
องค์ชาย 10 องค์ชาย 16 และองค์ชาย 17 หลังจากทุกคนมาถึงพระองค์จึงเสียชีวิต หลงเคอตัวจึงอ่านราชโองการ
พินัยกรรมแต่งตั้งองค์ชาย 4 เป็นฮ่องเต้ แต่ยังไงๆ สงครามข่าวลือก็ไม่อาจจะหยุด
เมื่อก้าวขึ้นครองราชย์ อิ่นเจิ้งก็เปลี่ยนชื่อรัชกาลเป็นหยงเจิ้งซึ่งก็เป็นชื่อที่คนไทยและคนทั่วโลกรู้จักกันดี
สำหรับประเด็นเรื่องการปลอมแปลงพินัยกรรม นักประวัติศาสตร์เคยค้นเรื่องนี้แล้วสรุปออกมาเป็นข้อๆ ว่า
ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้น เพราะพินัยกรรมนั้นทำขึ้นเป็น 5 ภาษา ไล่มาตั้งแต่ภาษาแมนจู ฮั่น ธิเบต อาหรับ ไปจนกระทั่ง
มองโกล และเขียนโดยอารักษ์คนเดียวกัน ตัวหนังสือของฮั่นนั้นอาจจะแก้ง่ายๆ แต่ของภาษาอื่นนี่ ระหว่างคำว่า 14
กับ 4 นั้นห่างกันคนละโยชน์ทีเดียว เพราะฉะนั้นจึงไม่มีทางที่จะปลอมแปลงพินัยกรรมโดยการเขียนหรือลบตัวหนังสือ
แต่การปลงพระชนม์นั้นอาจจะทำได้ ในแผ่นดินจีนสมัยนั้นเรื่องของลูกฆ่าพ่อ หรือ ฆ่าพี่ฆ่าน้องเพื่อหาทางครองบัลลังก์
นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะฉะนั้นกาสที่หย่งเจิ้งจะทำการอย่างที่ว่าจึงเป็นไปได้สูง
ทันทีที่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเขาก็ประกาศพระราชทานอภัยโทษและส่ง “องค์ชาย 13” ที่มีนามว่า
อิ่นเซี่ยง ซึ่งเป็นพันธมิตรมาตั้งแต่สมัยก่อนออกมาจากคุกหลังจากที่เคยถูกจองจำในสมัยของคังซีทันที เหตุที่ปล่อย
ก็ไม่ใช่เรื่องอะไรนอกจากต้องการให้องค์ชาย 13 ซึ่งแต่เดิมมีชื่อเสียงที่สุดของบรรดาองค์ชายในฐานะที่เป็นยอด
นักรบพิเศษ ออกมาทำการควบคุมเมืองหลวงและจัดกำลังของกองทหารรักษาพระองค์และกองทหารที่ดูแล
พระราชวังต้องห้ามทันที นักวิเคราะห์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นเพราะหย่งเจิ้งเกรงจะมีการทำปฏิวัติขึ้นมาโดยพลพรรค
และเพื่อนฝูงขององค์ชาย 14 ที่ตอนนั้นยังอยู่ที่ชายแดน ซึ่งเหตุการณ์ทุกอย่างก็เรียบร้อยไปตามที่คาด เพราะ
องค์ชาย 13 ทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยม การควบคุมอย่างแน่นหนานี่เองที่ทำให้พิธีส่งพระศพของคังซี ที่บรรดาเชื้อพระวงศ์
และตัวหย่งเจิ้งเองผ่านไปได้อย่างดี เพราะต้องคลานเข่าไป 3 ก้าวและคำนับอีก 9 ครั้ง พิธีดังกล่าวกินเวลา 3 วัน
กว่าจะเสร็จสิ้น หลังจากนั้นหย่งเจิ้งฮ่องเต้จึงมีใบบอกไปยังองค์ชาย 14 ที่อยู่ที่ชิงไห่กลับเข้ามาที่หลุมศพของคังซีได้
ปัญหาของหย่งเจิ้งในเรื่องของการขึ้นครองราชย์นี้ ทำให้พระองค์ถึงกับต้องบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า
เป็นเรื่องหนักหนาเกินไปสำหรับพระองค์ โดยเฉพาะตั้งแต่ได้รับตำแหน่งนี้พระองค์ก็นอนไม่หลับและกลายเป็น
คนเจ้าอารมณ์ขึ้นมาแถมยังควบคุมตัวเองไม่ได้อีกด้วย ซึ่งมันสะท้อนได้อย่างเดียวว่า ความเครียดของพระองค์นั้น
เกิดจากความระแวงคนในสายเลือดเดียวกันที่จะทำการก่อการโค่นพระองค์ ข้อสรุปที่หย่งเจิ้งมักจะทำเป็นประจำ
ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาก็คือ กำจัดของต้นตอแห่งปัญหานั่นเสียเลยโดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม หรือ ไม่ต้องสน
ว่าจะเป็นญาติพี่น้องอะไรทั้งนั้น นั่นเป็นเหตุให้สุดท้ายเกิดปรากฏการณ์เลือดล้างตระกูลขึ้นมาเพราะหย่งเจิ้งจัดการ
ไล่ล่าฆ่าพี่น้องท้องเดียวกันมาจนหมดสิ้น จากนั้นก็ไล่เก็บแม้กระทั่งข้าราชการที่เคยมีข่าวว่าช่วยเหลือกันมาจน
ได้เป็นฮ่องเต้อันได้แก่ หลงเคอตัว เหนียนเกิ้งเหยา แต่เหตุที่หยงเจิ้ง จัดการกับพี่น้องแบบนี้ก็ไม่ใช่เพราะความโหด
และความหวาดระแวงเพียงอย่างเดียว แต่เพราะบรรดาพี่น้องเหล่านั้นก็คิดจะก่อกบฎจริงๆ ส่วนพวกข้าราชการเหล่านั้น
ก็เป็นเหตุจากการคอร์รัปชั่นที่หย่งเจิ้งเกลียดอย่างที่สุดนั่นเอง ซึ่งเมื่อข้าราชการหรือองค์ชายเหล่านั้นเปิดจุดอ่อน
ที่จะหาเหตุให้จัดการได้ ก็โดนจัดการแบบไร้คความปราณีทีเดียว
ความจริงมีองค์ชายหลายองค์ที่ไม่ได้ตายเพราะหย่งเจิ้ง ยกตัวอย่างเช่นองค์ชาย 1 กับองค์ชาย 2 ถูกจับ
กักบริเวณไว้ตั้งแต่สมัยคังซีฮ่องเต้มีชีวิตอยู่ ด้วยเหตุที่ไม่รักดีตามมาด้วยการที่คิดจะก่อกบฎ หย่งเจิ้งฮ่องเต้ก็ไม่ได้
สนใจอะไรนอกจากขังลืมจนกระทั่งตายไปเองทั้งคู่ อิ่นเหริงผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรัชทายาทก็ตายหลังจากที่
หย่งเจิ้งขึ้นครองราชย์ได้เพียง 2 ปี (ว่ากันว่ามีการส่งคนเข้าไปเอาผ้าขาวรัดคอให้แกอายุสั้นกว่าที่ควร) แต่ที่
หนักหนาที่สุดในการจัดการได้แก่แก๊งค์ขององค์ชาย 8 อิ่นซี ที่จับมือกับองค์ชาย 9 และองคชาย 10 อย่างแน่นหนา
และมีหลักฐานอย่างชัดเจนว่าเตรียมการจะปฏิวัติ ซึ่งว่ากันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่หนักใจมากที่สุดสำหรับหย่งเจิ้ง
เพราะ เมื่อมีการฟื้นฟูระบบสี่ที่ปรึกษาใหญ่ องค์ชาย 8 นั้นได้รับการแต่งตั้งจากหย่งเจิ้งให้เป็นหนึ่งในสี่ที่ปรึกษาใหญ่
ของพระองค์ทีเดียว แถมยังได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเป็นประธานสภาขุนนาง (President of the Feudatory
Affairs Office) เสียด้วยซ้ำไป และในเวลาต่อมาได้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ประจำสำนักบริหารของฮ่องเต้อีกด้วย
แต่เมื่อขึ้นสู่อำนาจได้ไม่นาน หย่งเจิ้งก็พบว่ามีเรื่องไม่ชอบมาพากลในน้องชายคนนี้โดยเฉพาะในเรื่องของการคิด
จะก่อการและเรื่องร้ายที่สุดก็คือการคอรัปชั่น ในปี 1726 องค์ชาย 8 ก็ถูกจับโดยตั้งข้อกล่าวหาในเรื่องของการ
รับสินบนอย่างมากมาย เขาถูกขับออกจากตำแหน่งและคุมตัวออกจากวังไปกักบริเวณอยู่ที่เป่าติ้ง หลังจากที่
หย่งเจิ้งทำการตรวจสอบด้วยตัวเอง ในปีเดียวกันองค์ชาย 8 ก็ถูกพระราชทานนามใหม่จากเดิมที่ชื่ออุ๋นซี กลาย
มาเป็น “อากินะ” ในภาษาแมนจู ซึ่งแปลตรงๆ ก็คือ “ ไอ้หมู” ซึ่งแสดงถึงความสกปรกที่ชอบรับสินบนนั่นเอง
หลังจากนั้นองค์ชาย 8 ก็ป่วยกระเสาะกระแสะจนสุดท้ายก็มีคำประกาศอย่างเป็นทางการว่า เขาก่อคดีอุกฉกรรจ์
ในเรื่องของคอร์รัปชั่น 40 คดี องค์ชายหมูของหย่งเจิ้งก็ไม่มีโอกาสได้มาสูดอากาศภายนอกบ้านอีกเลยจนกระทั่ง
ตายไปในที่สุด
องค์ชาย 9 หรืออิ่นถังซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่คังซีฮ่องเต้โปรดมากซึ่งก่อนหน้านี้เคยสนับสนุนองค์ชาย 14 และถัดมา
ก็ส่งสัญญาณว่าจะสนับสนุนองค์ชาย 8 ในการก่อการอีกด้วย หลังจากที่เป็นผู้บังคับการทหารอยู่แถวๆ ชิงไห่
แต่หลังจากที่หย่งเจิ้งทรงทราบ เขาก็โดนเล่นงานในข้อหาเดียวกันในเรื่องของคอร์รัปชั่น มีการสั่งควบคุมตัวและ
ส่งไปที่เป่าติ้งห่างจากฐานที่มั่นเดิมของเขาเกือบ 200 กิโลเมตร ขณะที่ทำการสอบสวนเขาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น
“องค์ชายหมา" ( Sesihei จากภาษาแมนจูแปลว่าหมา) หลังจากโดนจับไปกักขังได้ 2 ปีองค์ชาย 9 ก็เสียชีวิต
อย่างปริศนาด้วยอาการปวดท้องซึ่งก็ไล่ๆ กับที่องค์ชาย 8 ตายในปี 1726 และหนึ่งในแก๊งคนสุดท้าย “อิ่นเอ๋อ”
องค์ชาย 10 นั้นถูกถอดออกจากทุกตำแหน่งในเดือนพฤษภาคมปี 1724 แล้วส่งไปอยู่ในดินแดนหนาวสุดๆ ที่
ชุนยี่ ข้อหานั้นไม่แน่ใจเพราะไม่มีการบันทึกไว้ แต่คาดว่าคงจะโดนอะไรต่อมิอะไรใกล้เคียงกัน การตายของ
องค์ชายทั้งคู่นี้ก็มีการร่ำลือกันไปต่างๆ นานาว่าพวกเขาโดนวางยาพิษหรือไม่ก็โดนซ้อมจนตายเสียมากกว่า
ซึ่งน่าจะแสดงให้เห็นถึงความโหดของหย่งเจิ้งได้ดี
สำหรับองค์ชาย 14 หรือ “อิ่นถี” หลังจากที่ถูกเรียกตัวให้เข้ามาเคารพพระศพของคังซีหลังจากที่การจัดงาน
เสร็จสิ้นแล้ว ค่ำคืนหนึ่งองค์ชายผู้นี้ก็ถูกตำรวจลับของหย่งเจิ้งฮ่องเต้เข้ารวบตัวขณะกำลังหลับเพื่อคุมตัวมาอยู่
ในหลุมฝังศพของคังซีเพื่อรับราชโองการจากฮ่องเต้องค์ใหม่ ราชโองการดังกล่าวก็คือการสั่งให้องค์ชาย 14
ดูแลพระศพขององค์อดีตฮ่องเต้คังซีตลอดไป พูดง่ายๆ ก็คือหย่งเจิ้งเอาองค์ชาย 14 มาจำคุกใต้ดินไว้ตลอด
โดยที่มีหน่วยทหารรักษาพระองค์ดูแลการทำหน้าที่ขององค์ชาย 14 อีกที สองปีถัดมาองค์ชาย 14 ที่เคยได้รับ
พระยศเป็นเจ้าพระยาปราบชายแดนสมัยคังซีมีชีวิตอยู่ ก็ถูกลดตำแหน่งขององค์ชายลงอีกสองขั้น และในปี 1725
อิ่นถีก็ได้เป็นคนเฝ้าสุสานของฮ่องเต้แบบเต็มตัว เพราะ ฐานะและตำแหน่งองค์ชายที่มีมาตั้งนานถูกทางสำนัก
พระราชวังริบคืนไปทั้งหมด
สำหรับพันธมิตรที่ร่วมรบกันมานานและเป็นกำลังสำคัญ อย่างองค์ชาย 13 ที่กลายเป็นผู้บัญชาการทหาร
รักษาพระองค์ในช่วงแรกของการครองราชย์นั้นก็ไปได้สวยในชีวิตราชการ จากการจงรักภักดีและการทำงานหนัก
ในฐานะที่ปรึกษาและผู้แทนต่างพระเนตรพระกรรณแม้ว่าจะมีปัญหาอย่างมากมายในเรื่องของสุขภาพ ในปี 1725
อิ่นเซี่ยงถูกส่งไปทำหน้าที่ในจี้ลี่เพื่อดูแลระบบน้ำทั้งควบคุมเรื่องของการชลประทาน การควบคุมเรื่องน้ำท่วม
และการคมนาคม หลังทำงานอย่างหนักได้เกือบๆ 5 ปีหย่งเจิ้งก็เรียกเขากลับเข้ามาอยู่ข้างกายพร้อมกับเลื่อน
ตำแหน่งขึ้นเป็นองค์ชายชั้นหนึ่ง แต่ยังไม่ทันทำอะไรเขาก็จากไปจากโลกนี้จากอาการป่วยหอบหืดเรื้อรัง ในปี 1730
หย่งเจิ้งฮ่องเต้ถึงกับสั่งให้หยุดราชการเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อองค์ชาย 13 เป็นเวลา 3 วัน ตัวของพระองค์เอง
กล่าวต่อหน้าท้องพระโรงถึงการจากไปครั้งนี้ว่าเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของพระเทศ
ส่วนหนึ่งของการที่หย่งเจิ้งถูกนำเสนอแต่เฉพาะเรื่องแย่ๆ หรือความโหดร้ายมากกว่าเรื่องดีๆ ของเขานั้น
เป็นเพราะนโยบายของเขาที่มุ่งไปในเรื่องการเงินการคลังแบบสุดชีวิต รวมถึงการมีนโยบายปราบคอร์รัปชั่น
แบบถึงพริกถึงขิงของเขานั่นเอง
การจัดตั้ง “สำนักราชการส่วนพระองค์” หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Grand Council ซึ่งประกอบไปด้วยที่ปรึกษา
หรือเรียกว่าองคมนตรี 5 คนและคนใหญ่ที่สุดก็คือเชื้อพระวงศ์ที่จะถูกคัดเลือก แท้ที่จริงก็คือสำนักงานตรวจสอบ
ภายใน หน่วยงานนี้มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะเรื่องร้องเรียนการทำความผิดและความพยายามที่จะ
หลบเลี่ยงการเสียภาษีโดยอาศัยช่องว่างต่างๆ นักวิเคราะห์รุ่นหลังกล่าวว่านี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่หย่งเจิ้งมีศัตรูในวัง
แบบรอบทิศ นอกจากนั้นบรรดาข้าราชการที่ยักยอก “ส่วนลดภาษี” ของชาวนาโดยการอาศัยการประเมินที่
ผิดพลาดก็โดนเล่นงานอย่างหนัก เพราะคนของสำนักราชการส่วนพระองค์ลงไปตรวจสอบเอง ฏีกาที่ชาวบ้าน
เคยต้องเสนอผ่านที่ทำการราชการระดับล่างก็วิ่งตรงมายังสำนักตรวจสอบนี่เลย เงินที่ชาวบ้านและชาวนาต้องเสีย
โดยการตกลงกันเองระหว่งผู้ตรวจชั้นผู้น้อยกับชาวบ้านก็ถูกส่งเข้าส่วนกลาง ผลงานที่ว่านี้ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือน
ในสำนักราชการระดับล่างอย่างหนัก เพราะรายได้ที่เคยส่งตามน้ำไปให้นายอำเภอหรือหัวหน้าของผู้ตรวจชั้นผู้น้อย
ก็ไม่มีอีกต่อไป ที่หนักกว่านั้นก็คือ การยกเลิกสิทธิของบรรดาบัณฑิตทั้งหลายในเรื่องอภิสิทธิ์ในการยกเว้นภาษี…
สิ่งเหล่านี้ทำให้หย่งเจิ้งเป็นที่รังเกียจจากบรรดาข้าราชการชั้นผู้น้อยและบัณฑิตที่เคยได้รับอภิสิทธิ์สมัยคังซียังมี
ชีวิตอยู่
ภายในเวลา 10 ปีนับตั้งแต่ปี 1721 จนกระทั่งปี 1730 ปรากฏว่าเงินในท้องพระคลังนั้นเพิ่มจาก 32 ล้านตำลึง
กลายมาเป็น 60 ล้านตำลึง เรียกว่าทำลายสถิติที่คังซีเคยทำไว้อย่างไม่เห็นฝุ่น งบประมาณด้านการทหารก็น้อยลง
เกือบ 10 เท่า ส่วนหนึ่งเพราะหยงเจิ้งยินดีที่จะใช้การเจรจามากกว่าการทำสงคราม รวมถึงการลดขนาดของ
กองทัพลงซึ่งทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้มาก (เงินเหล่านี้กลายเป็นงบประมาณที่สำคัญในสมัยของเฉียนหลง
ฮ่องเต้)
ขณะเดียวกันสำหรับข้าราชการชั้นสูงที่เคยร่วมสร้างบัลลังค์กันมาอย่างหลงเคอตัวและเหนียนเกิ้งเหยาก็โดน
เล่นงานไม่แพ้กัน เหนียนเกิ้งเหยานั้นจะว่าไปก็เหมือนสายลับที่ส่งไปประกบองค์ชาย 14 สมัยที่ชิงบัลลังค์กัน
เหนียนเกิ้งเหยาเป็นคนจัดการหาหลักฐานมาเล่นงานองค์ชาย 14 เสียด้วยซ้ำไป หลงเคอตัวก็คือคนคุมทหารใน
ปักกิ่งที่ยุติปัญหาการก่อการขององค์ชายต่างๆ และทำให้หย่งเจิ้งได้ครองราชย์อย่างสมบูรณ์ เหนียนเกิ้งเหยานั้น
ได้รับการไว้วางใจมากมายในช่วง 5 ปีแรกของรัชการหย่งเจิ้งในฐานะขุนศึกคนสำคัญของราชวงศ์ แต่เมื่อมีความ
พยายามจะทำการกระด้างกระเดื่องและมีหลักฐานชัดเจนว่าเขาคบคิดจะใช้กองทัพเพื่อทำการปฏิวัติร่วมกับองค์ชาย
อิ่นถังหรือองค์ชาย 9 สุดท้ายเหนียนซึ่งอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าเขตหางโจวก็โดนจับกรอกยาพิษฐานละโมบและคิดกบฎ
ในปี 1726 ส่วนคนในครอบครัวของเขาถูกประการชีวิตหมดทั้งตระกูล ขณะที่หลงเคอตัวนั้นก็อาศัยฐานะของการ
เป็นคนสนิทกระทำการคอร์รัปชั่นอย่างมโหฬาร สุดท้ายหย่งเจิ้งก็เลยบุกเข้าควบคุมตัวและขังลืมไว้ในบ้านจนตาย
ในปี 1728 นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งบอกว่า สองคนนี้อาจจะตายเพราะรู้ความลับมากเกินไป
ขณะที่ความรุ่งโรจน์และการจัดระเบียบของข้าราชการและเชื้อพระวงศ์นั้นมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง แต่จู่ๆ
เขาก็เสียชีวิตลงแบบกระทันหันในเดือนตุลาคม ปี 1735 ด้วยอายุเพียงแค่ 56 ปี ตามบันทึกอย่างเป็นทางการ
(ซึ่งคงเชื่อได้ยากเต็มที เพราะบันทึกมักจะถูกแก้ให้ทุกอย่างดูดีอยู่เสมอสำหรับฮ่องเต้) หย่งเจิ้งนั้นเสียชีวิตเนื่องจาก
การทานยาบำรุงตามตำหรับต่างที่พระองค์สรรหามา หย่งเจิ้งนั้นเชื่อในเรื่องของการเป็นนิรันดร์อยู่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นพระองค์ก็เลยลองยาทุกๆ อย่างที่มีแววจะทำให้พระองค์มีอายุยืนยาวได้ ยาส่วนใหญ่ที่พระองค์ลองนั้น
ก็มีตั้งแต่สารหนูยันสารปรอท กินเข้าไปมากๆ ก็แน่นหน้าอกยันโลหิตเป็นพิษ สุดท้ายก็เลยจากโลกนี้ไปเพราะยา
ของพระองค์นั่นเอง… แต่กระนั้นก็ไม่ได้เสียชีวิตกระทันหัน ยังมีเวลาจัดการเรื่องที่ยังไม่สำเร็จให้จบเรื่อง
พระองค์มองเห็นว่าโอกาสที่จะนองเลือดยังอาจจะมีหลังจากที่พระองค์จากไป ช่วงระหว่างที่หย่งเจิ้งรู้ว่าเวลา
เหลือไม่นานนัก พระองค์ได้เรียกตัวบุตรชายคนที่สามที่มีชื่อว่า “หงชี่” ซึ่งเคยสนิทกับอิ่นซีน้องชายของ
พระองค์มาพบ จากนั้นก็ประทานเหล้ายาพิษให้ดื่มเสียเลยเพื่อไม่ให้หงชี่ลุกขึ้นมาปฏิวัติทายาทที่พระองค์เลือกไว้
หลังจากนั้นก็ทรงเขียนพินัยกรรมและหนังสือแต่งตั้งฮ่องเต้องค์ต่อไปแล้วนำไปใส่กล่องแขวนไว้ที่วังเฉียนชิ่ง
อีกฉบับหนึ่งก็เก็บไว้ที่พระองค์เอง เมื่อหย่งเจิ้งตายก็ให้เอาจดหมายทั้งสองฉบับมาเทียบกัน ถ้าตรงกันก็ค่อยให้
ประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้แก่ “หงลี่” หรือทั่วโลกรู้จักกันในนาม “เฉียนหลงฮ่องเต้” นั่นเอง
-----------------------------------------------
(นอกเรื่องมาเยอะ ไปตามเรื่องราวเกี่ยวกับซีรีย์ต่อกันที่ part 2 กันเลยยยยย)
#### “ปู้ปู้จิงซิน Bu Bu Jing Xin (2) ###
ขอบคุณที่นำมาให้อ่านนะคะ สนุกมากเลยค่ะ
ตอบลบ